BLOOD TUBE หลอดเก็บเลือด
สารเคมีที่ป้องกันการแข็งตัวของเลือด (สารกันเลือดแข็ง) โดยในหลอดแต่ละสี ก็จะมีสารกันเลือดแข็ง คนละชนิดกัน ซึ่งสาเหตุที่ต้องใช้สารกันเลือดแข็งหลายชนิด ไม่สามารถใช้ชนิดเดียว หรือหลอดเดียวสำหรับารตรวจได้ทั้งหมด ก็เพราะว่า สารกันเลือดแข็งตัว สามารถที่จะไปรบกวนในขั้นตอน การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการได้ แลัวส่งผลต่อค่าการตรวจวิเคราะห์ได้ โดยแต่ละชนิดก็จะส่งผลต่อการตรวจที่แตกต่างกัน ดังนั้น นักเทคนิคการแพทย์ หรือพยาบาลผู้ทำการเจาะเลือดจึงต้องเก็บสิ่งตัวอย่างให้ถูกต้องตามชนิดการตรวจเพื่อให้การตรวจวิเคราะห์ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
สีหลอดที่ใช้สารกันเลือดแข็งมี ดังนี้
- สีแดงหลอด Serum Clot Activator หลอดจุกสีแดง
- สารที่อยู่ข้างในนั้นไม่ใช่สารกันเลือดแข็ง (Anti-coagulant) แต่จะเป็นตัวกระตุ้น หรือ activator ที่ทำให้เลือดเกิดการแข็งตัวได้เร็วยิ่งขึ้น
ใช้สำหรับเก็บซีรั่ม เพื่อส่งตรวจทาง Serology, ธนาคารเลือด หรือ เคมีคลินิก
ลักษณะงานที่ใช้
Chemistry, Immunology and Serology :
– ABO type – Antibody Screen
– Rh Immune Globulin
– Antibody Titer
– Antigen Typing
– Rheumatoid Arthritis (RA) and Rheumatoid Factor (RF)
– Syphilis testing such as Rapid Plasma Reagin (RPR)
– Venereal Disease Research Lab (VDRL)
– Pregnancy Test
– Haptoglobin (HP)
– C-Reactive Protein (CRP) เป็นต้น
สีเขียว : หลอด Lithium heparin หลอดจุกเขียว
ใช้สารกันเลือดแข็งที่มีชื่อว่า heparin ซึ่งมีคุณสมับติในการยับยั้งการทำงาน thrombinIII หรือ anti-thrombinIII (ปัจจัยการแข็งตัวของเลือดตัวหนึ่ง)
ใช้สำหรับเก็บซีรั่ม เพื่อส่งตรวจทางเคมีคลินิก
ลักษณะงานที่ใช้
Endocrine and metabolic disorders
– Therapeutic drug monitoring and toxicology
– Protein electrophoresis
– Lipid panels
– Hepatic function tests
– Electrolytes and marker of cardiac damage
– STAT chemistry tests เป็นต้น
สีม่วง: หลอด EDTA K2 หลอดจุกสีม่วง
เป็นสารกันเลือดแข็งชนิด EDTA ที่มีคุณสมบัติไปจับกับแคลเซียมเอาไว้ ซึ่งแคลเซียมจำเป็น สำหรับกระบวนการแข็งตัวของเลือด
ใช้สำหรับการเก็บเลือด เพื่อส่งตรวจทางโลหิตวิทยา หรือ การตรวจวินิจฉัยในระดับโมเลกุล
เพราะ EDTA จะคงรักษาสภาพของเม็ดได้ดี รูปร่างของเม็ดเลือดจึงยังเหมือนเดิมมากที่สุด
ลักษณะงานที่ใช้
– White blood cell (WBC) count
– Red blood cell (RBC) count
– Platelet Count
– Reticulocyte count
– Eosinophil count
สีฟ้า หลอด Coagulation หลอดจุกสีฟ้า (3.2% Sodium Citrate)
สารกันเลือดแข็งที่ใช้คือ SODIUM CITRATE ที่จะไปจับกับแคลเซียมเช่นเดียวกับ EDTA แต่ไม่กระตุ้นการทำงานของเกร็ดเลือดซึ่งมีหน้าที่สำคัญในกระบวนการแข็งตัวของเลือด
ลักษณะงานที่ใช้
Routine coagulation tests include Prothrombin Time (PT)
– Partial Thromboplastin Time (PTT)
– Thrombin Time (TT)
– Fibrinogen
– Fibrin degradation products (FDP)
– D-dimer and many special coagulation tests to diagnosis various bleeding disorders such as Factor activity assays (II, V, VII, VIII, IX, X, XI, XII), Factor antigen assays (VII, X), Factor inhibitor assays (II, V, VII, VIII, IX, X, XI, XII) เป็นต้น
สีดำ หลอด ESR
ใช้วัดอัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง ค่าของ ESR คือ ระยะทางเป็นมิลลิเมตรที่เม็ดเลือดแดงตกตะกอนลงมาอยู่ที่ก้นหลอดแก้วในเวลา 1 ชั่วโมง
ลักษณะงานที่ใช้
– Blood Glucose Levels
– Blood Alcohol Levels
– Lactate
– Bicarbonate เป็นต้น
หลอดเก็บเลือด Gel & Clot Activator Tube ขนาด 3.0 ฝาเหลือง (100 หลอด/pack)
หลอดดูดเลือดจากสุญญากาศ Gel & Clot Tubers SSGT
วัสดุ: PET หรือแก้ว
การใช้: หลอดดูดเลือดจากสุญญากาศใช้ร่วมกับเข็มเจาะเลือดและที่ยึดสำหรับการเก็บตัวอย่างเลือดจากหลอดเลือดดำสำหรับการตรวจทางคลินิก เพื่อให้เกิดการแยกชั้น ของ เม็ดเลือดและ น้ำเลือด
หลอด SSGT เคลือบด้วยตัวกระตุ้นการเกิดลิ่มเลือดและเจลสำหรับเซรุ่มซีรั่ม หลอดจะใช้สำหรับการตรวจหาซีรั่มในทางเคมีและสำหรับชีวเคมีทางคลินิก ลักษณะที่เห็นได้ชัดของหลอด SSGT ใช้เพื่อให้ได้ตัวอย่างซีรั่มที่มีคุณภาพสูงสำหรับห้องปฏิบัติการทางการแพทย์
วิธีการเขย่า ( mix) เลือดกับสารที่เคลือบอยู่ในหลอด ( Additive ) ในหลอดเก็บเลือดสูญญากาศอย่างถูกวิธี โดยเอียงหลอดพลิกกลับไปมาในแนว 180 องศา ไม่ควรเขย่าหลอดแรงๆ เพราะจะทำให้เกิด hemolysis
อ้างอิง
http://www.microscopy.ahs.chula.ac.th/newmicros/lecture/bloodcollecting.pdf
http://122.155.193.46/laboratorynrh/wp-content/uploads/2017/10/Blood-collection.pdf
http://www.tsh.or.th/file_upload/files/v5%20n1%20046.pdf